วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551






พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อพสกนิกรชาวไทยเสมอมา ทรงเริ่มเสด็จเยี่ยมเยียน และพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราษฎร ตั้งแต่ พ.ศ. 2495 เริ่มจากราษฎรที่อยู่ใกล้เคียงกับพระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และค่อยๆ ขยายพื้นที่ไปทั่วทุกภาคของประเทศ จนอาจกล่าวได้ว่า ไม่มีพื้นที่แห่งใดเลยในประเทศไทย ที่พระองค์ไม่เคยเสด็จพระราชดำเนินไปถึง ซึ่งพสกนิกรชาวไทยในทุกหนแห่งก็ถวายความ จงรักภักดี แด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างล้นเหลือเช่นกัน และจากการเสด็จออกเยี่ยมราษฎรด้วยพระองค์เอง ทำให้ทรงทราบปัญหาในเรื่องความเป็นอยู่ และการประกอบอาชีพของราษฎร ซึ่งเป็นปัญหาในหลายๆ ด้าน เช่น ด้านการพัฒนาแหล่งน้ำและชลประทาน ด้านการพัฒนาที่ดิน ด้านเกษตรกรรม ด้านการศึกษาวิจัย ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ด้านอาชีพเสริม และอื่นๆ เหล่านี้คือที่มาของโครงการอันเนื่อง มาจากพระราชดำริี่ัปััจจุบันมีมากกว่า 1,000 โครงการ
จากการเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมเยียนพสกนิกรนับตั้งแต่ทรงขึ้นครองราชย์ ทำให้ทรงตระหนักว่าภัยแล้งและน้ำเพื่อการเกษตรและบริโภคอุปโภคเป็นปัญหาที่รุนแรงและสำคัญที่สุด การจัดการทรัพยากรน้ำและการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกและบริโภคอุปโภค นับว่าเป็นงานที่มีความสำคัญ และมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศในการช่วยให้เกษตรกรทำการเพาะปลูกได้อย่างสมบูรณ์ตลอดปี ในปัจจุบันพื้นที่การเพาะปลูกส่วนใหญ่ทุกภาคของประเทศเป็นพื้นที่เพาะปลูกนอกเขตชลประทาน ซึ่งต้องอาศัยเพียงน้ำฝน และน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นหลัก ทำให้พืชได้รับน้ำไม่สม่ำเสมอตามที่ต้องการ เป็นผลให้ผลผลิตที่ได้รับไม่ดีเท่าที่ควร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใฝ่พระราชหฤทัยเกี่ยวกับการจัดการพัฒนาแหล่งน้ำเป็นอย่างยิ่ง มีพระราชดำริว่าน้ำคือปัจจัยสำคัญต่อมนุษย์และบรรดาสิ่งมีชีวิตอย่างถ่องแท้ ดังพระราชดำรัส ณ สวนจิตรลดา เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๙ ความตอนหนึ่งว่า "...หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะว่าชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้..." ในการจัดการทรัพยากรน้ำนั้นทรงมุ่งขจัดปัญหาความแห้งแล้งอันเนื่องมาจากสภาพของป่าไม้ต้นน้ำเสื่อมโทรม ลักษณะดินเป็นดินปนทราย หรือการขาดแหล่งน้ำจืด การจัดการทรัพยากรน้ำโดยการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น มีหลักและวิธีการที่สำคัญ ๆ คือ การพัฒนาแหล่งน้ำจะเป็นรูปแบบใด ต้องเหมาะสมกับรายละเอียดสภาพภูมิประเทศแต่ละท้องที่เสมอ และการพัฒนาแหล่งน้ำต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมในด้านเศรษฐกิจ และสังคมของท้องถิ่น หลีกเลี่ยงการเข้าไปสร้างปัญหาความเดือดร้อนให้กับคนกลุ่มหนึ่ง โดยสร้างประโยชน์ให้กับคนอีกกลุ่มหนึ่ง ไม่ว่าประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจเกี่ยวกับการลงทุนนั้นจะมีความเหมาะสมเพียงใดก็ตาม ด้วยเหตุนี้การทำงานโครงการพัฒนาแหล่งน้ำทุกแห่งจึงพระราชทานพระราชดำริไว้ว่า ราษฎรในหมู่บ้าน ซึ่งได้รับประโยชน์จะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดิน โดยจัดการช่วยเหลือผู้ที่เสียประโยชน์ตามความเหมาะสมที่จะตกลงกันเอง เพื่อให้ทางราชการสามารถเข้าไปใช้ที่ดินทำการก่อสร้างได้ โดยไม่ต้องจัดซื้อที่ดิน ซึ่งเป็นพระบรมราโชบายที่มุ่งหวังให้ราษฎรมีส่วนร่วมกับรัฐบาล และช่วยเหลือเกื้อกูลกันภายในสังคมของตนเอง และมีความหวงแหน ที่จะต้องดูแลบำรุงรักษาสิ่งก่อสร้างนั้นต่อไปด้วย


.............................................

หมวด ๙เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา


มาตรา ๖๓ รัฐต้องจัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุ กระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปอื่น เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาใoระบบการศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมตามความจำเป็น

มาตรา ๖๔ รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิต และพัฒนาแบบเรียน ตำรา หนังสือทางวิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์อื่น วัสดุอุปกรณ์ และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่น โดยเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถในการผลิต จัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิต และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ทั้งนี้โดยเปิดให้มีการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม

มาตรา ๖๕ ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ

มาตรา ๖๖ ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในโอกาสแรกที่ทำได้ เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
มาตรา ๖๗ รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนา การผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่า และเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย

มาตรา ๖๘ ให้มีการระดมทุน เพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจากเงินอุดหนุน ของรัฐ ค่าสัมปทาน และผลกำไรที่ได้จากการดำเนินกิจการด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรประชาชน รวมทั้งให้มีการลดอัตราค่าบริการเป็นพิเศษในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อการพัฒนาคนและสังคมหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินกองทุนเพื่อการผลิต การวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๖๙ รัฐต้องจัดให้มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบายแผนส่งเสริมและประสานการวิจัย การพัฒนาและการใช้ รวมทั้งการประเมินคุณภาพ และประสิทธิภาพของการผลิต และการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา


วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551

นี่เเหละเพื่อน

ใช้ใจมองเพื่อน
คุณเชื่อในพรมลิขิตมั้ย
ถ้าไม่เเล้วอะไรล่ะที่ทำให้เราพบกับคนหลายคนที่ไม่รู้จักมาก่อน
ถ้าไม่เเล้วอะไรล่ะที่ทำให้เราถูกชะตาที่ทำให้เราเรียกคนนั้นว่า เพื่อน
....เพื่อน...คนคนหนึ่งที่ครั้งหนึ่งก็เป็นได้เเค่คนเเปลกหน้าหนึ่ง
เวลาผ่านเวลา คนเเปลกหน้าคนนั้นก็กลายมาเป็นคนที่เราไว้ใจ
...เพื่อน...คือคนที่พร้อมยืนอยู่กับเราเสมอ ไม่ว่าจะ ทุกข์ สุข เหงา เศร้า
...เพื่อน...คนที่พร้อมเเชร์ความรู้สึกต่างๆโดยไม่เคยเอ่ยปากว่า ถ้าทำอย่างนั้นเเล้วฉัจะได้อะไร
...เพื่อน...คนที่ไม่เคยสนใจว่าเราจะหน้าตาดี มีสกุล ร่ำรวย ยากจน สูง ต่ำ ดำ ขาว
...เพื่อน...ที่ไม่เคยเสเเสร้งเเกล้งทำ
...เเต่...เพื่อนตายหายากเหลือเกิน
เรามองเห็นด้วยตาเปล่าไม่ได้ ว่าคนๆนี้เป็นเพื่อนตายเราหรือไม่
เรามองด้วยตาเปล่าไม่ได้ว่า เป็นคนที่พร้อมจะเคียงข้างเราเสมอไปมั้ย
เรามองด้วยตาเปล่าไม่ได้ว่า คนๆนั้นจริงใจกับเราเเค่ไหน
ทั้งหมดนี้เราใช้ตามองไม่เห็น
เเต่ทั้งหมดนี้เราใช้ใจมองเห็นได้
เมื่อบทความล่วงมาถึงตอนนี้เเล้วคุณล่ะ
ใช้ตามองเพื่อนหรือใช้ใจมองเพื่อน
เราบอกไม่ได้ว่าคนๆไหนดี ไม่ดี จนกว่า...เราจะมีโอกาสรู้จักกับคนๆนั้น
เเล้วใช้ใจสัมผัสการคบใครสักคน
คบเพียงกายก็ไร้ประโยชน์ เเต่การคบใครสักคน จำเป็นต้องคบกันด้วยใจ
วันนี้คุณใช้อะไรคบเพื่อนของคุณ
อย่าบอกนะว่าคุณก็เป็นคนที่คบเพื่อนด้วยตา
เพราะถ้าเป็นอย่างนั้นคุณก็คงเป็นคนที่ไม่น่าคบคนหนึ่ง
...........................................................................
ถ้าท้อเป็นเพียงถ่าน ถ้าผ่านจึงเป็นเพชร
เพชรมีค่ามากกว่าถ่านหลายล้านเท่าทั้ง ๆ ที่เพชรเป็นธาตุคาร์บอนเหมือนกันไม้ผ่านการอบการเผา ไม่นานก็กลายเป็นถ่านแต่เพชรผ่านความร้อน ไม่ต่ำกว่า 5,000 องศาฟาเรนไฮน์ได้รับความกดดันมากกว่า 1 ล้านปอนด์ต่อตารางนิ้วด้วยระยะเวลาอันยาวนาน จนกระทั่งกลายเป็นเพชรเพชรที่เป็นเครื่องประดับอันงดงามพร้อม ๆ กับเป็นของที่มีความแข็งมากที่สุดในโลกถ้าท่านกำลังได้รับความกดดันอยู่ จงอดทน จงอดทนถ้าท่านกำลังถูกเคี่ยวถูกสับอยู่ ให้คิดว่าเพียงแค่นิ้วจะทำให้เป้าหมายเราสั่นคลอนได้หรือ ?ถ้าสถานการณ์กำลังบีบคั้น แสดงว่าชัยชนะกำลังรออยู่ข้างหน้าถ้ายังถูกโหมกระหน่ำอีกให้รู้ตัวว่าท่านกำลังใกล้จะเป็นเพชรเต็มที่แล้ว....ในสถานการณ์เช่นนี้ หากหยุดคิดพิจารณาอย่างมีสติย่อมจะเกิดปัญญาพบหนทางสว่างได้เสมอจงมุ่งมั่นอาจหาญสง่างาม เสมือนดั่งเพชรแม้เพชรจะตกอยู่ในสภาวะทุกข์ยากลำบาก อ้างว้างและโดดเดี่ยวแต่เพราะเพชรไม่เคยย่อท้อต่อสู้เรื่อยไปให้ถือว่าทุกอย่างเป็นบทเรียนและบทฝึกตัวเองเสมอ จนกาลเวลาผ่านไปเพชรจึงภูมิใจในตัวของมันเอง และด้วยความอดทนถึงที่สุดนั่นเองเพชรจึงเป็นอัญมณีล้ำค่า ควรแก่การประดับมงกุฎของพระราชาผู้ยิ่งใหญ่จากอดีต.... ปัจจุบัน....ตลอดไปในอนาคต

วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

เทคโนโลยีการศึกษา..ปัจจุบันและอนาคต

จากการวิเคราะห์บทความเรื่องเทคโนโลยีการศึกษา..ปัจจุบันและอนาคต

ในย่อหน้าแรกมีความเป็นจริงมาก เพราะ ในปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยี โดยใช้ระบบดาวเทียมอยู่แล้วซึ่งมีการใช้อย่างหลากหลาย สามารถเห็นหน้าคู่สนทนาได้ โดยแต่ละคนสามารถพูดคุยกัน เสนอความคิดกัน หรือโต้ตอบกันได้
ในย่อหน้าที่สองเป็นจริง เพราะ มีการใช้ระบบISDE ที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้โดยการนำสายไฟเบอร์ออฟติกเป็นตัวนำในการส่ง ซึ่งสายนี้จะรองรับคู่สายได้เป็นหมื่นๆคู่เป็นเครือข่ายบริการรวมดิจิตอลที่มีการใช้กันมากทางการศึกษา
ในย่อหน้าที่สามมีส่วนจริง เพราะ มีการใช้ไฮเปอร์มีเดียมาเป็นสื่อการเรียนการสอน เช่น เทปภาพ แผ่นใสโดยสามารถนำข้อมูลส่งไปในที่ไกลๆได้ เช่นอาจารย์สอนอยู่ที่จุฬาแต่นักเรียนอยู่ต่างจังหวัดก็สามารถเรียนเพราะใช้ระบบส่งผ่านดาวเทียมนั่นเอง
ในย่อหน้าที่สี่ ในปัจจุบันมีการส่งจดหมายโดยผ่านระบบไปรษณีย์อิเลคทรอนิคส์กันอย่างแพร่หลาย
ในย่อหน้าที่ห้าในปัจจุบันไม่น่าจะมีเพราะว่าทันสมัยเกินไป น่าจะยังคิดไม่ถึงจุดนั้น
ในย่อหน้าที่หกปัจจุบันการส่งสัญญาณโทรทัศน์ตามสายที่เรียกว่า เคเบิ้ลทีวี ทำให้สามารถรับสัญญาณช่องได้มากกว่าถึง 40 ช่อง จึงมีการใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
ในย่อหน้าที่แปดจากการอ่านย่อหน้านี้การสั่งซื้อสินค้า และผลิตภัณฑ์ต่างๆผ่านโดยจ่ายเงินผ่านคอมพิวเตอร์เป็นจริง เพราะจะช่วยอำนวยความสะดวก สบายแก่ผู้ใช้บริการ
ในย่อหน้าที่เก้า กรณีของคุณปัญญา มีการส่งข่าวเป็นหนังสืออิเลคทรอนิคส์ที่ส่งทั้งภาพและเสียงที่เป็นภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว คิดว่ายังไม่การใช้ในปัจจุบัน
ในย่อหน้าที่สิบ กรณีนี้คิดว่ายังทันสมัยอยู่ เพราะการเรียนหนังสือผ่านดาวเทียมก็ยังมีใช้กันในปัจจุบัน
และย่อหน้าสุดท้ายคิดว่ามีใช้ เพราะ การศึกษาตามสถานที่ทุรกันดารจะใช้การศึกษาจากดาวเทียมเป็นหลักเนื่องจากบุคลากรอาจจะไม่พอจึงต้องใช้การศึกษาจากแหล่งนี้

.....................................................................

เทคนิคการอ่านอย่างรวดเร็วจะช่วยให้คุณไม่เครียดเกินไป และช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

1. วัดระดับความเร็วของตัวเอง คุณอ่านหนังสือได้เร็วมั้ย ลองทดสอบตัวเองดูสิคะ โดยการอ่านบทความหนึ่ง 1 นาทีโดยใช้ความเร็วธรรมดา แล้วนับคำที่คุณอ่านได้จำนวนคำที่คุณอ่าน บอกได้ถึงความเร็วในการอ่านของคุณ และเพื่อการทำความเข้าใจกับบทความ ก็ให้คุณเขียนสิ่งที่คุณเข้าใจในการอ่านออกมา ถ้าคุณเขียนได้มากขึ้นก็จะยิ่งดีขึ้นเรื่อยๆ ลองฝึกฝนบ่อยๆ แล้วคุณจะเห็นความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น

2. ผู้ช่วยตัวสำคัญ บางครั้งตาของคุณก็ไม่ได้จดจ่อกับตัวหนังสือใช่มั้ยจึงต้องอ่านไปมาหลายรอบ และเพื่อป้องกันอาการที่ว่านี้ก็ต้องมีผู้ช่วยตัวสำคัญ นั่นก็คือ การใช้ดินสอลากตัวหนังสือที่กำลังอ่านไปเรื่อยๆ ไล่ไปทีละคำด้วยความเร็วที่สม่ำเสมอจากซ้ายไปขวา และเมื่อจบบรรทัดก็ให้รีบเร่งบรรทัดใหม่ต่อไป

3. ฝึกความเร็วในการอ่าน หากฝึกอ่านหนังสือด้วยความเร็วสูงจะช่วยฝึกความสามารถในการอ่านได้ดี แม้ว่าจะเข้าใจเพียงเล็กน้อยก็ตาม เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าสมองจะชินกับความเร็วที่อ่าน ผลที่ได้ก็คือ การอ่านในระดับความเร็วธรรมดาที่อ่านแล้วจะทำให้เข้าใจเร็วขึ้น ให้คุณลองฝึกอ่านบทความภายในเวลา 3 นาที และต่อมาก็ใช้เวลาให้น้อยลงเป็น 2 นาที กับบทความเดิม และลดลงเหลือ 1 นาที และให้คุณฝึกบ่อยๆ จนกระทั่งคุณใช้เวลาสั้นๆ โดยไม่จำเป็นต้องเข้าใจบทความอย่างเพอร์เฟ็กต์

4. ฝึกอ่านทำความเข้าใจ การอ่านหนังสือเพื่อให้เข้าใจเนื้อเรื่องทั้งหมดเป็นเรื่องที่คุณจำเป็นต้องฝึกฝนด้วยการมองหนังสือปราดเดียวก็เข้าใจ ให้คุณอ่านบทความในหนังสือพิมพ์และปิดหนังสือหนึ่งบรรทัดแล้วเปิดมือขึ้นเพื่อมองปราดเดียวแล้วพยายามเขียนถึงสิ่งที่คุณอ่านออกมา ให้ฝึกจนกระทั่งสายตาของคุณเข้าใจกับข้อความนั้นๆจากนั้นก็เริ่มบรรทัดต่อไป

5. ทำความเข้าใจกับบทความด้วยการมองผ่าน คุณได้ฝึกการอ่านแบบมองปราดเดียวมาแล้ว ดังนั้น คุณก็พร้อมที่จะฝึกขั้นต่อไป ให้คุณอ่านบทความโดยไม่มีผู้ช่วยด้วยการมองอ่านปราดเดียว ในการฝึกก็ให้คุณใช้ดินสอสีขีดบรรทัดในแนวดิ่ง ให้อ่านทั้งกลุ่มคำโดยไม่ต้องอ่านคำต่อคำ ด้วยสายตา ที่ตวัดบรรทัดต่อบรรทัด และให้ฝึกต่อโดยไม่ต้องใช้ดินสอสีขีดเส้นบรรทัดที่อ่านอีก แต่ให้ใช้ความจำ

Tip อ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ การอ่านหนังสือหน้าจอคอมพิวเตอร์มักทำให้สายตาเมื่อยล้า ดังนั้น หากเป็นบทความยาวๆก็ขยายตัวหนังสือให้ใหญ่ขึ้นและใช้เมาส์ช่วยในการอ่าน เปิดจออินเตอร์เน็ตให้แคบลงเพื่อเลี่ยงแสงกะพริบจากโฆษณา ปิดเพลงและนั่งตัวตรงอ่านทำความเข้าใจ