วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

เทคโนโลยีการศึกษา..ปัจจุบันและอนาคต

จากการวิเคราะห์บทความเรื่องเทคโนโลยีการศึกษา..ปัจจุบันและอนาคต

ในย่อหน้าแรกมีความเป็นจริงมาก เพราะ ในปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยี โดยใช้ระบบดาวเทียมอยู่แล้วซึ่งมีการใช้อย่างหลากหลาย สามารถเห็นหน้าคู่สนทนาได้ โดยแต่ละคนสามารถพูดคุยกัน เสนอความคิดกัน หรือโต้ตอบกันได้
ในย่อหน้าที่สองเป็นจริง เพราะ มีการใช้ระบบISDE ที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้โดยการนำสายไฟเบอร์ออฟติกเป็นตัวนำในการส่ง ซึ่งสายนี้จะรองรับคู่สายได้เป็นหมื่นๆคู่เป็นเครือข่ายบริการรวมดิจิตอลที่มีการใช้กันมากทางการศึกษา
ในย่อหน้าที่สามมีส่วนจริง เพราะ มีการใช้ไฮเปอร์มีเดียมาเป็นสื่อการเรียนการสอน เช่น เทปภาพ แผ่นใสโดยสามารถนำข้อมูลส่งไปในที่ไกลๆได้ เช่นอาจารย์สอนอยู่ที่จุฬาแต่นักเรียนอยู่ต่างจังหวัดก็สามารถเรียนเพราะใช้ระบบส่งผ่านดาวเทียมนั่นเอง
ในย่อหน้าที่สี่ ในปัจจุบันมีการส่งจดหมายโดยผ่านระบบไปรษณีย์อิเลคทรอนิคส์กันอย่างแพร่หลาย
ในย่อหน้าที่ห้าในปัจจุบันไม่น่าจะมีเพราะว่าทันสมัยเกินไป น่าจะยังคิดไม่ถึงจุดนั้น
ในย่อหน้าที่หกปัจจุบันการส่งสัญญาณโทรทัศน์ตามสายที่เรียกว่า เคเบิ้ลทีวี ทำให้สามารถรับสัญญาณช่องได้มากกว่าถึง 40 ช่อง จึงมีการใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
ในย่อหน้าที่แปดจากการอ่านย่อหน้านี้การสั่งซื้อสินค้า และผลิตภัณฑ์ต่างๆผ่านโดยจ่ายเงินผ่านคอมพิวเตอร์เป็นจริง เพราะจะช่วยอำนวยความสะดวก สบายแก่ผู้ใช้บริการ
ในย่อหน้าที่เก้า กรณีของคุณปัญญา มีการส่งข่าวเป็นหนังสืออิเลคทรอนิคส์ที่ส่งทั้งภาพและเสียงที่เป็นภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว คิดว่ายังไม่การใช้ในปัจจุบัน
ในย่อหน้าที่สิบ กรณีนี้คิดว่ายังทันสมัยอยู่ เพราะการเรียนหนังสือผ่านดาวเทียมก็ยังมีใช้กันในปัจจุบัน
และย่อหน้าสุดท้ายคิดว่ามีใช้ เพราะ การศึกษาตามสถานที่ทุรกันดารจะใช้การศึกษาจากดาวเทียมเป็นหลักเนื่องจากบุคลากรอาจจะไม่พอจึงต้องใช้การศึกษาจากแหล่งนี้

.....................................................................

เทคนิคการอ่านอย่างรวดเร็วจะช่วยให้คุณไม่เครียดเกินไป และช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

1. วัดระดับความเร็วของตัวเอง คุณอ่านหนังสือได้เร็วมั้ย ลองทดสอบตัวเองดูสิคะ โดยการอ่านบทความหนึ่ง 1 นาทีโดยใช้ความเร็วธรรมดา แล้วนับคำที่คุณอ่านได้จำนวนคำที่คุณอ่าน บอกได้ถึงความเร็วในการอ่านของคุณ และเพื่อการทำความเข้าใจกับบทความ ก็ให้คุณเขียนสิ่งที่คุณเข้าใจในการอ่านออกมา ถ้าคุณเขียนได้มากขึ้นก็จะยิ่งดีขึ้นเรื่อยๆ ลองฝึกฝนบ่อยๆ แล้วคุณจะเห็นความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น

2. ผู้ช่วยตัวสำคัญ บางครั้งตาของคุณก็ไม่ได้จดจ่อกับตัวหนังสือใช่มั้ยจึงต้องอ่านไปมาหลายรอบ และเพื่อป้องกันอาการที่ว่านี้ก็ต้องมีผู้ช่วยตัวสำคัญ นั่นก็คือ การใช้ดินสอลากตัวหนังสือที่กำลังอ่านไปเรื่อยๆ ไล่ไปทีละคำด้วยความเร็วที่สม่ำเสมอจากซ้ายไปขวา และเมื่อจบบรรทัดก็ให้รีบเร่งบรรทัดใหม่ต่อไป

3. ฝึกความเร็วในการอ่าน หากฝึกอ่านหนังสือด้วยความเร็วสูงจะช่วยฝึกความสามารถในการอ่านได้ดี แม้ว่าจะเข้าใจเพียงเล็กน้อยก็ตาม เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าสมองจะชินกับความเร็วที่อ่าน ผลที่ได้ก็คือ การอ่านในระดับความเร็วธรรมดาที่อ่านแล้วจะทำให้เข้าใจเร็วขึ้น ให้คุณลองฝึกอ่านบทความภายในเวลา 3 นาที และต่อมาก็ใช้เวลาให้น้อยลงเป็น 2 นาที กับบทความเดิม และลดลงเหลือ 1 นาที และให้คุณฝึกบ่อยๆ จนกระทั่งคุณใช้เวลาสั้นๆ โดยไม่จำเป็นต้องเข้าใจบทความอย่างเพอร์เฟ็กต์

4. ฝึกอ่านทำความเข้าใจ การอ่านหนังสือเพื่อให้เข้าใจเนื้อเรื่องทั้งหมดเป็นเรื่องที่คุณจำเป็นต้องฝึกฝนด้วยการมองหนังสือปราดเดียวก็เข้าใจ ให้คุณอ่านบทความในหนังสือพิมพ์และปิดหนังสือหนึ่งบรรทัดแล้วเปิดมือขึ้นเพื่อมองปราดเดียวแล้วพยายามเขียนถึงสิ่งที่คุณอ่านออกมา ให้ฝึกจนกระทั่งสายตาของคุณเข้าใจกับข้อความนั้นๆจากนั้นก็เริ่มบรรทัดต่อไป

5. ทำความเข้าใจกับบทความด้วยการมองผ่าน คุณได้ฝึกการอ่านแบบมองปราดเดียวมาแล้ว ดังนั้น คุณก็พร้อมที่จะฝึกขั้นต่อไป ให้คุณอ่านบทความโดยไม่มีผู้ช่วยด้วยการมองอ่านปราดเดียว ในการฝึกก็ให้คุณใช้ดินสอสีขีดบรรทัดในแนวดิ่ง ให้อ่านทั้งกลุ่มคำโดยไม่ต้องอ่านคำต่อคำ ด้วยสายตา ที่ตวัดบรรทัดต่อบรรทัด และให้ฝึกต่อโดยไม่ต้องใช้ดินสอสีขีดเส้นบรรทัดที่อ่านอีก แต่ให้ใช้ความจำ

Tip อ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ การอ่านหนังสือหน้าจอคอมพิวเตอร์มักทำให้สายตาเมื่อยล้า ดังนั้น หากเป็นบทความยาวๆก็ขยายตัวหนังสือให้ใหญ่ขึ้นและใช้เมาส์ช่วยในการอ่าน เปิดจออินเตอร์เน็ตให้แคบลงเพื่อเลี่ยงแสงกะพริบจากโฆษณา ปิดเพลงและนั่งตัวตรงอ่านทำความเข้าใจ